หัวใจ รู้เท่าทันโรค ปฏิเสธไม่ได้ว่า เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น หลายคนรู้ตัวก่อนก็สามารถรักษาไว้ได้ทันเวลา แต่ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายคนที่ไม่มีอาการแสดงใด ๆ เมื่อรู้ตัวก็อาจสายไปเสียแล้ว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เราน่าจะมาทำความรู้จัก โรคหัวใจ ให้มากขึ้นกันดีกว่า
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากคนมีพฤติกรรมเสี่ยงกันมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร การไม่ดูแลสุขภาพร่างกาย แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ shutterstock
เพราะอาการบางอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับหลายโรค ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ รวมถึงการป้องกัน เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั่นเอง
ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะเกิดจากสาเหตุการมีก้อนไขมัน หรือมีก้อนลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดแดงในหัวใจ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น นอกจากนี้โรคหัวใจอาจเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษบางอย่าง รวมไปถึงการได้รับถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นต้น
ไม่เฉพาะแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เพราะเดี๋ยวนี้หนุ่มสาววัยทำงานก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้ชีวิตไร้คุณภาพ
ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครียดจากการทำงาน ขาดการออกกำลังกาย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงได้ทั้งสิ้น UFABET
และยิ่งหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคเบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดและความดันโลหิตสูงด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วย
โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คนเลยทีเดียว
สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน pgslot
ไม่ว่าจะเป็น การสูบหรือสูดดมควันบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสหวาน และอาหารเค็ม และยังรวมไปถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
อายุ ผู้ที่มีอายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ
กรรมพันธุ์ โรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะมีผลทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอล สูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
ความเครียด มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก โดยจะเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง
นอกจากนี้ ความเครียดฉับพลัน ยังมีผลอย่างมากต่อเลือด ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจของเรานั้น เต้นไม่เป็นจังหวะอีกด้วย slotxo
เหนื่อยง่าย เวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย หรือใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน
เจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก
มีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก รวมถึง เป็นลมหมดสติไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
วิธีที่จะรู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น ก็ต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ซึ่งในการตรวจโรคหัวใจนั้นแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจเหล่านี้ joker
เริ่มต้นโดยการ ซักประวัติ หรือสอบถามประวัติ อาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่พึงสงสัย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จากนั้น ตรวจร่างกายทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต
ตรวจด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กไปวางตามจุดต่างๆ ของร่างกาย
ต่อมา ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คือ การให้ผู้ป่วยเดิน หรือวิ่งบนสายพานเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และดูการการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การเคลื่อนที่และการบีบตัว
ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Coronary Artery) เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบจากการมีไขมันไปเกาะหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย
หากเกิดข้อสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัด คือ การตรวจฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจหรือ ที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง EST คือ วิธีการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น วิ่งบนลู่วิ่ง หรือการตรวจวิ่งสายพาน และปั่นจักรยาน วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายกำลังออกกำลังอย่างหนักนั้น หัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่
เพราะขณะออกกำลังหัวใจจะต้องการเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง หากมีเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจะส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ความดันเลือดลดลง และหัวใจเต้นผิดปกติ
การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง ECHO คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัย joker gaming
โดยปล่อยคลื่นเสียงจากหัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟนผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเกิดการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคหัวใจ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังเพื่อสุขภาพ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การใช้ยา บางรายที่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะจ่ายยาเพื่อควบคุม และบรรเทาอาการของโรค โดยยาที่ให้นั้นจะแตกต่างไปตามประเภท และอาการของผู้ป่วย
การผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดโรคที่ผู้ป่วยเป็น เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น
เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง ถ้าอยากมีชีวิตที่ยืนยาว ก็ควร งดสูบบุรี่ หลีกเลี่ยงน้ำชา กาแฟ ของเสพติดมึนเมา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงความเครียด ควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ที่สำคัญ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค โดยรับประทานอาหาร ที่มีไขมันต่ำ รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยมากขึ้น นอกจากนี้ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
การออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักการจัดการความเครียด ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือผ่อนคลายความเครียดได้
เราควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม เกินไป ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากใย และที่สำคัญ ตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ทันที
แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะไม่สามารถออกแรงหนัก ๆ ได้ แต่การออกกำลังกายบางท่าสามารถทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ดี ซึ่งเป็นผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ โดยวิธีการออกกำลังกายมีดังนี้
การเดินเร็ว เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอายุมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงจนเกินไป ต่อมาคือ แอโรบิก ทำให้ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะอื่นได้ดีขึ้นด้วย
การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงมากขึ้น ลดความเครียด และช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ส่วนการว่ายน้ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และเกิดความยืดหยุ่นได้ดี นอกจากนี้ การเล่นเทนนิส กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่จึงทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น Slot
โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง หากพบว่าตนเองมีอาการ หรือมีความเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจควรรีบเข้าพบแพทย์ หรือตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค และทำการรักษาต่อไป
อัพเดทล่าสุด : 27 มิถุนายน 2021 (ข้อมูลล่าสุดปี 2021)